ข้อความวิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซด์ของ soonthorn116

บทที่1 เทคโนโลยีสารสนเทศ


 
เทคโนโลยีปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม (ผดุงยศ ดวงมาลา 2523 : 16)
          
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น สารสนเทศที่เป็น ความรู้ที่เกิดจากวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม โทรศัพท์ เครื่องจักร ที่เกี่ยวกับสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น การฝาก ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน ฯลฯ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆแต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมายสารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษ: Information technology หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เซิร์ฟเวอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการมากที่สุด คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การใช้ระบบคอมพิวเตอร์พอจะเรียงลำดับได้ดังนี้ 
ยุคแรก เรียกว่า ยุคการประมวลผลข้อมูล(Data Processing Era) เพื่อใช้ในการคำนวณและการประมวลผลข้อมูล
ยุคที่ 2 มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจดำเนินการควบคุม ติดตามผล และวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ เรียกว่า ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System :MIS)
ยุคที่ 3 การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จในยุคปัจจุบัน ความเจริญของเทคโนโลยีสูงมาก มีการขยายขอบเขตของการประมวลผลข้อมูลไปสู่การสร้างและการผลิตสารสนเทศทำให้สามารถสร้างทางเลือกและรูปแบบใหม่ของสินค้าและบริการ ซึ่งเรียกว่า ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology :IT) หรือยุคไอที โดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดเรื่องการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล (Data Processing Age) มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ (Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (management Information System : MIS) มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ
ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ
   ข้อมูล  หมายถืง ข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของ หรือ เหตุการณ์ที่สนใจศึกษา ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข (numeric)  หรืออาจเป็นตัวอักษรหรือข้อความ (alphabetic)  และข้อความที่เป็นตัวเลขผสมข้อความ (alphanumeric)นอกจาก นี้ข้อมูลอาจเป็นภาพ (image) และ(sound) ก็ได้ การที่จะได้ระบบสารสนเทศที่ดีนั้นเกิดจากการเตรียมข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลจะเก็บอยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูล
ส่วนประกอบของแฟ้มข้อมูล
       การจัดเก็บข้อมูลในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บในรูปของแฟ้มข้อมูล จะมีการกำหนดโครงสร้างข้อมูลที่จัดเก็บในแฟ้มข้อมูลซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญ  ดังนี้
1.  ตัวอักขระ  (Character) ตัวอักขระหมายถึงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในภาษามนุษย์แบ่งออกเป็น  3  ประเภท คือ
  • ตัวเลข (Numeric) คือ เลขฐาน 10 ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9
  • ตัวอักษร (Alphabetic) คือ ตัวอักษร  A ถึง Z
  • สัญลักษณ์พิเศษ (Special  symbol) เช่น เครื่องหมายคณิตศาสตร์  และสัญลักษณ์ต่างๆเช่น +, -, *, /, ?, #, & เป็นต้น
2. ฟิลด์  (Field) ฟิลด์ คือ อักขระที่มารวมกันแล้วก่อให้เกิดความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
ชื่อ สกุล  อายุ  เงินเดือน  ที่อยู่  เบอร์โทรศัพท์  เป็นต้น
3. เรคคอร์ด  (Record) เรคคอร์ด คือ ฟิลด์ที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่น เรคคอร์ดนักศึกษาจะประกอบ ด้วยรายละเอียดของข้อมูลนักศึกษาฉะนั้นข้อมูลนักศึกษา 1 คน จะเป็น 1 เรคคอร์ด
4. แฟ้มข้อมูล  (File)แฟ้มข้อมูล คือ เรคคอร์ดหลาย ๆ เรคคอร์ดที่เกี่ยวข้องกันมารวมกัน ปัจจุบันแฟ้มข้อมูลมี หลายประเภท แฟ้มข้อมูลที่จะนำมาใช้ประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์อาจมีแฟ้มข้อมูลเดียวหรือหลายแฟ้มข้อมูล แฟ้มข้อมูลแบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้
4.1 แบ่งประเภทตามลักษณะของข้อมูล  ได้แก่
  • แฟ้มข้อมูลโปรแกรม (Program  file) เป็นแฟ้มข้อ มูลที่เก็บโปรแกรมคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ 
  • แฟ้มข้อมูลข้อความ (Text  file) เป็นแฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลเป็นข้อความเช่น แฟ้มเอกสารต่าง ๆ ที่มีสกุล  .txt, .csv  เป็นต้น
  •  แฟ้มข้อมูลเสียง(Sound  file) เป็นแฟ้มข้อมูลเสียงที่มีสกุล .mid (midi) หรือสกุล .wav (wave)  เป็นต้น
  • แฟ้มข้อมูลวีดิโอ(Video file)เป็นแฟ้มข้อมูลที่มีสกุล .ave, .mov, .mpg
  • แฟ้มข้อมูลภาพกราฟิก(Graphic file) เป็นแฟ้มข้อมูลที่เป็นรูปภาพที่มีสกุล .bmp, .jpg, .gif, tif, .png  เป็นต้น
4.2  แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้แก่
  •  แฟ้มข้อมูลหลัก (Master  file)  หรือแฟ้มข้อมูลถาวรคือ  แฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลสำคัญซึ่งต้องการเก็บไว้อย่างถาวร การปรับปรุงจะใช้ข้อมูลจากแฟ้มรายการ  ในงานหนึ่ง ๆอาจมีแฟ้มข้อมูลหลักมากกว่า  1  แฟ้มก็ได้  ตัวอย่างแฟ้มข้อมูลหลัก เช่น แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลรายการสินค้า เป็นต้น
  • แฟ้มรายการ  (Transaction  file)  หรือแฟ้มข้อมูลชั่วคราว คือ  แฟ้มข้อมูลที่รวบรวมการเปลี่ยนแปลงบางอย่างของแฟ้มข้อมูลหลักเก็บเป็นรายการย่อย ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะนำไปทำการปรับปรุงกับแฟ้มข้อมูลหลัก  เช่น  แฟ้มข้อมูลการชำระหนี้ของลูกค้า  รายการขายสินค้าประจำวัน  รายการเงินฝาก ถอน  การสำรองเที่ยวบิน  เป็นต้น ในการปรับปรุงแก้ไขแฟ้มข้อมูลหลัก โดยทั่วไปจะใช้แฟ้มข้อมูล 2 แฟ้ม โดยแฟ้มแรกใช้เก็บข้อมูลหลักที่กำลังทำการปรับปรุงแก้ไข แฟ้มที่สองจะเก็บข้อมูลเฉพาะรายการเปลี่ยนแปลง
  • แฟ้มข้อมูลสำรอง (Backup  file)  หมายถึง  แฟ้มข้อมูลที่ได้จากการทำสำเนาแฟ้มข้อมูลสำคัญเอาไว้ใช้ในกรณีที่แฟ้มข้อมูลสำคัญมีปัญหาอาจใช้แฟ้มข้อมูลสำรองแทน(ข้อมูล : L2EIS 5/05/2556)
ฐานความรู้ (Knowlelge-based) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert system) หมายถึง ข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ใช้ในการแก้ปัญหา เพื่อใช้เป็นฐานในการตัดสินใจของเครื่องคอมพิวเตอร์ ในระบบผู้เชี่ยวชาญนี้ ฐานข้อมูลส่วนมากจะประกอบไปด้วยคำสั่งประเภท ถ้า...... (IF) มากทีเดียว ดู  expert system และ artificial intelligence ประกอบ  โดยทั่วไป knowledge base หรือ ฐานความรู้ คือการรวบศูนย์การจัดเก็บสารสนเทศ เช่น ห้องสมุดสาธารณะ ฐานข้อมูลของสารสนเทศที่สัมพันธ์กับหัวข้อเฉพาะ ในความสัมพันธ์กับเทคโนโลยีสารสนเทศ ฐานความรู้เป็นแหล่งที่เครื่องสามารถอ่านได้สำหรับการกระจายสารสนเทศ โดยทั่วไปการออนไลน์หรือความสามารถทำให้ออนไลน์ สวนประกอบบูรณาการของระบบการจัดการความรู้ (knowledge management) ฐานความรู้ได้รับการใช้รวมสารสนเทศ จัดโครงสร้าง และดึงสำหรับองค์กร หรือสาธารณะทั่วไป  ฐานความรู้ที่ได้รับการได้ดีสามารถประหยัดเงินของวิสาหกิจโดยการลดเวลาของลูกจ้างในการค้นหาสารสนเทศ เช่น กฎหมายภาษี นโยบายบริษัท และขั้นตอนทำงาน เครื่องมือจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (customer relationship management หรือ CRM) ฐานความรู้สามารถให้ลูกค้าเข้าถึงสารสนเทศได้ง่าย ในกรณีอื่นต้องติต่อกับเจ้าหน้าที่ขององค์กร ตามกฎ ความสามารถนี้ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ง่ายขึ้นสำหรับทั้งลูกค้าและองค์กร โปรแกรมประยุกต์จำนวนหนึ่งให้ผู้ใช้สร้างบานข้อความรู้ของตัวเอง ทั้งการแยกต่างหาก (เรียกว่า knowledge management software) หรือเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกมประยุกต์อื่น เช่น แพ็คเกจ CRM   โดยทั่วไป ฐานความรู้ไม่ใช่การรวบรวมสารสนเทศแบบสถิตย์ แต่ทรัพยากรพลวัตรที่อาจจะมีความสามารถในการเรียนรู้ได้เอง ตัวอย่าง เป็นส่วนของ artificial intelligence (AI) expert system ตามรายงานของ World Wide Web Consortium (W3C) ในอนาคตอินเตอร์เน็ตจะกลายเป็นฐานความรู้ระดับโกลบัลขนาดใหญ่และซับซ้อนที่เรียกว่า Semantic Web (www.com5dow.com 5 / 05 / 2556)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น