ข้อความวิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซด์ของ soonthorn116

บทที่3 การจัการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์


การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1.
การเตรียมข้อมูลเข้า (Input Data)
คือการเก็บรวบรวมข้อมูลให้พร้อมที่จะทำการจัดเก็บ บันทึก และประมวลผล ซึ่งประกอบไปด้วย
1.1
การลงรหัส (Coding) คือการใช้รหัสแทนข้อมูล ซึ่งทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปที่กระทัดรัดเพื่อสะดวกแก่การประมวลผล รหัสที่ใช้อาจเป็นตัวเลขหรือไม่ใช่ตัวเลขก็ได้
1.2
การแก้ไข (Editing) คือการตรวจสอบข้อมูล ให้มีความถูกต้อง และเป็นไปได้ (เช่น ข้อมูลอายุ ควรจะอยู่ระหว่าง 0 - 100 ปี เป็นต้น) ก่อนนำไปใช้งาน โดยมีการปรับปรุงแก้ไขเท่าที่จำเป็น
1.3
การแยกประเภท (Classifying) คือ การจัดประเภทของข้อมูล หรือจำแนกข้อมูลออกเป็นกลุ่มเพื่อสะดวกแก่การนำไปประมวลผล เช่น ร้านค้าย่อย อาจจะจำแนกเป็น ชนิดของสินค้า แผนกที่ขาย ผู้ขาย หรือจำแนกหมวดอื่นๆ ตามที่ผู้จัดร้านเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการดำเนินงาน
1.4
การแปรสภาพข้อมูล (Transforming) คือ การเปลี่ยนสื่อ หรือตัวกลางที่ใช้บันทึกข้อมูลเพื่อให้อยู่ในรูปที่สามารถนำไปประมวลผลต่อไปได้ เช่น การเจาะข้อมูลลงบนบัตร เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรับไปประมวลผลได้
2.
การประมวลผล (Processing)
ได้แก่ วิธีการจัดการกับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นการบวก ลบ คูณ หาร หรือการคำนวณ และเปรียบเทียบลักษณะต่างๆ ที่กำหนดไว้
3.
การนำเสนอข้อมูล (Output)
คือ การเอาผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงให้ผู้อื่นทราบ อาจจะแสดงไว้ในรูปรายงาน ตาราง หรือแบบใดก็ได้ที่สามารถนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
3.1
การสรุปผล (Summarizing) คือการนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่มากลั่นกรอง และย่อลงให้เหลือเฉพาะส่วนที่จำเป็น เพื่อที่จะนำไปปฏิบัติให้คล่องตัว และใช้ประกอบการตัดสินใจ
3.2
การเก็บข้อมูล (Storing) เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ได้อีกในอนาคตจึงจำเป็นต้องมีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบ ในระบบคอมพิวเตอร์มักจะบันทึกลงเทปแม่เหล็กหรือจานแม่เหล็ก
3.3
การค้นหาและการเรียกใช้ข้อมูล (Searching and Retrieving) คือ การค้นหาข้อมูลในแฟ้มข้อมูล และเรียกข้อมูลนั้นกลับมาใช้งาน (เช่นนำข้อมูลกลับมาแก้ไข ปรับปรุง)
3.4
การทำสำเนาข้อมูล (Reproduction) ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลดิบที่ได้มาใหม่ หรือข้อมูลจากการประมวลผล ในบางครั้งต้องการข้อมูลหลายชุด จึงจำเป็นต้องมีการสำเนาข้อมูลออกมาใช้หลายๆ ชุด

จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ
1. บิต(Bit) หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล เลขฐาน 2 คือ 0,1
2.
ไบต์(Byte) การนำบิตมารวมกัน เรียกว่า ตัวอักขระ,ตัวอักษร เป็นการนำบิตหลาย ๆ บิตมาเรียงต่อรวมกันเพื่อกำหนดค่าได้มากขึ้น เช่น 3 บิต มาต่อเรียงกันจะทำให้เกิดสถานะที่ต่างกันคือ 000,001,010,100,011,010, และ 111 ก็จะได้เป็น 8 สถานะ เมื่อนำบิตมาเรียงต่อรวมกันเป็น 8 บิต เรียกว่าไบต์ มี 256 สถานะ และกำหนดเป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุดที่ใช้งานได้ มีค่าตั้งแต่ 0 – 255 (00000000 – 11111111)
3.
ฟิลด์ (Field) การนำไบต์หลายๆไปมารวมกัน เรียกว่า เขตข้อมูล
4.
เรคอร์ด(Record) การนำฟิลด์หลาย ๆ ฟิลด์มารวมกัน เรียกว่าระเบียน
5.
ไฟล์(File) การเรคอร์ดหลาย ๆ เรคอร์ดมารวมกัน เรียกว่าแฟ้มข้อมูล
6.
ฐานข้อมูล(Database) การนำไฟล์หลาย ๆ ไฟล์มารวมกัน เรียกว่า ฐานข้อมูล

ฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร
         แฟ้มการแยก work order ในการซ่อมเครื่องจักรชนิดต่าง ๆ ที่ต่างกันออกไป มีประโยชน์เพื่อสะดวกในการค้นหา และติดตามสถานะของ work order นั้น ๆ ว่าจัดอยู่ในประเภทใด และ สถานะการทำงานนั้นมีการสั่งทำงานไปถึงไหนแล้ว และมีกำหนดในการปิด work order นั้น ๆ เมื่อใด เพื่อสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลที่รวดเร็วและแม่นยำ เช่น



จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูล แบบแบชและแบบเรียลไทม์
       การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) รวบรวมข้อมูล และแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่ม ๆ แล้วจึงส่งเครื่องคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลครั้งเดียวจะไม่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น ระบบลงทะเบียนของนักเรียน
1.
นักเรียนทุกคนทำการกรอกแบบฟอร์มการลงทะเบียน
2.
ฝ่ายทะเบียน ทำการรวบรวมการลงทะเบียน
3.
ป้อนข้อมูลจากใบลงทะเบียนทั้งหมด เก็บไว้ในแผ่นดิสเก็ต
4.
ทำการประมวลผลข้อมูลโดยใช้แผ่นดิสเก็ต
5.
จัดทำรายงานต่าง ๆ เพื่อส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วิธีการประมวลผลแบบเวลาจริง ( Real Time Processing )
การประมวลผลที่เมื่อทำการส่งข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ แล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาทันทีแสดงผลข้อมูลทันทีทันใด โดยแสดงผลทาง Output เช่น การใช้บริการบัตรเครดิตตามห้างร้านต่าง ๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น