ข้อความวิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซด์ของ soonthorn116

บทที่4 การสื่อสารข้อมูลระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอรื


1.  สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง
สื่อกลางประเภทมีสาย หมายถึง สื่อกลางที่เป็นสายซึ่งใช้ในการเชื่อมโยงโดยอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ และอุปกรณ์ในระยะทางที่ห่างกันไม่มากนัก สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
          สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP: Unshielded Twisted Pair) สาย UTP เป็นสายที่พบเห็นกันมาก มักจะใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์สื่อสารตามมาตรฐานที่กำหนด สาหรับสายประเภทนี้จะมีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร และสายUTP มีจานวนสายบิดเกลียวภายใน 4 คู่ คู่สายในสายคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนคล้ายสายโทรศัพท์ มีหลายเส้นซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีสีแตกต่างกัน และตลอดทั้งสายนั้นจะถูกหุ้มด้วยพลาสติก (Plastic Cover) ปัจจุบันเป็นสายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาถูกและติดตังได้ง่ายสาย UTP จะมีสายสัญญาณอยู่จานวน 4 คู่ 8 เส้น ประกอบด้วย เขียว - ขาวเขียว ส้ม - ขาวส้ม น้าเงิน - ขาวน้าเงิน น้าตาล - ขาวน้าตาล
ข้อดี  ของสาย UTP- ราคาถูก- ติดตั้งง่ายเนืองจากน้าหนักเบา และมีความยืดหยุ่น และสามารถโค้งงอได้มาก
ข้อเสีย ของสาย UTP- ไม่เหมาะในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ห่างไกลมาก เพราะสัญญาณที่วิ่งบนสายจะถูกลดทอนลงไปตามความยาวของสาย (มีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร) ไวต่อสัญญาณรบกวน
          สายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (STP: Shielded Twisted Pair) สายสัญญาณ STP มีการนำสายคู่พันเกลียวมารวมอยู่และมีการเพิ่มฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน ซึ่งเป็นร่างแหนี้จะมีคุณสมบัติเป็นเกราะในการป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆเรียกเกราะนี้ว่าชิลด์ (Shield) และเป็นสายสัญญาณที่ได้รับการพัฒนาต่อจากสาย UTP โดยเพิ่มการชีลด์กันสัญญาณรบกวนเพื่อทาให้คุณสมบัติโดยรวมของสัญญาณดีมากขึ้น คุณลักษณะของสายSTP ก็เหมือนกับสาย UTP คือมีเรื่องเกี่ยวกับอัตราการบันทอนครอสทอร์ก
ข้อดี ของสาย STP- ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า UTP- ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นวิทยุ
ข้อเสีย ของสาย STP- มีขนาดใหญ่และไม่ค่อยยืดหยุ่นในการงอพับสายมากนัก- ราคาแพงกว่าสาย UTP
แหล่งอ้างอิงhttp://www.dcs.cmru.ac.th
     สายโคแอกเชียล Coaxial Cable)
สายโคแอกเชียลหรือมักเรียกสั้นๆว่า สายโคแอกซ์ จะมีช่วงความถี่ หรือแบนด์วิดธ์ที่สูงกว่าสายคู่บิดเกลียว สายมักจะทำด้วย ทองแดงอยู่แกนกลาง และถูกหุ้มด้วยพลาสติกจากนั้นก็จะมีชีลด์หุ้มอยู่อีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน และหุ้มด้วยเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง จึงทำให้สายโคแอกเชียลนี้เป็นสายที่สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ดี
สายโคแอกเชียลที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปก็คือ สายที่นำมาใช้ต่อเข้ากับเสาอากาศทีวีที่ใช้ตามบ้านนั่นเอง
ข้อดีและข้อเสียของสายโคแอกเชียล
ข้อดี เชื่อมต่อได้ในระยะทางไกล  ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี
ข้อเสีย  มีราคาแพง   สายมีขนาดใหญ่   ติดตั้งยาก
      
สายไฟเบอร์ออปติค
สายไฟเบอร์ออปติค หรือสายใยแก้วนำแสง เป็นสายที่มีลักษณะโปร่งแสง มีรูปทรงกระบอกภายในตันขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์แต่มีขนาดเล็กกว่า เส้นใยแก้วนำแสงจะเป็นแก้วบริสุทธิ์ โดยแกนกลางของเส้นใยนี้จะเรียกว่า คอร์ และจะถูกห้อมล้อมด้วยแคลดดิ้งและจากนั้นก็จะมีวัสดุที่ใช้สำหรับห่อหุ้มแคลดดิ้งหรือบัฟเฟอร์และตามด้วยวัสดุห่อหุ้มภายนอก  เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถนำสายไฟเบอร์ออปติคมาใช้ในการส่งข้อมูลได้ซึ่งมักเรียกว่าออปติคไฟเบอร์ นอกจากสายไฟเบอร์ออปติคยังเป็นสายที่ทนต่อการรบกวนสัญญาณภายนอกได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความถี่วิทยุ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมถึงความปลอดภัยของข้อมูลซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่าสายเคเบิลทั่วไป สายไฟเบอร์ออปติคนี้จะมีอยู่หลายชนิดด้วยกันตามแต่ละคุณสมบัติ
ข้อดี   มีอัตราค่าลดทอนของสัญญาณต่ำ      ไม่มีการรบกวนของสัญญาณไฟฟ้า      มีแบนด์วิดธ์สูงมาก    
มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา      มีความเป็นอิสระทางไฟฟ้า      มีความปลอดภัยในข้อมูล
มีความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน
ข้อเสีย
เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักง่าย     การเดินสายต้องระมัดระวังอย่าให้โค้งงอมาก
มีราคาสูง เมื่อเทียบกับสายเคเบิลทั่วไป        การติดตั้งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ
ดังนั้น สายสัญญาณแต่ละชนิดจะใช้งานแตกต่างกันไปแล้วแต่ความเหมาะสมของงาน ผู้ที่ติดตั้งระบบจะรู้ดีว่าควรจะใช้สายประเภทได

      2. การนำระบบเครือข่ายมาใช้กับองค์มีประโยชน์อย่างไร
            ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup) เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกันก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น
การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้    ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
          1.การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
          2.การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก (Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง
          3.สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN, MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น
          4.สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (Business Applicability) องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น
          5.ความประหยัดนับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 – 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน
          6.ความเชื่อถือได้ของระบบงาน นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที
สร้างโดย: A&W แหล่งอ้างอิง: http://blog.eduzones.com/banny/3478

     3. การนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กรของนักศึกษาจะเลือกรูปแบบระบบเครือข่าย LAN Topology อย่างไร
แบบ Starจะเป็นลักษณะของการต่อเครือข่ายที่ Work station แต่ละตัวต่อรวมเข้าสู่ศูนย์กลางสวิตซ์ เพื่อสลับตำแหน่งของเส้นทางของข้อมูลใด ๆ ในระบบ ดังนั้นใน โทโปโลยี แบบดาว คอมพิวเตอร์จะติดต่อกันได้ใน 1 ครั้ง ต่อ 1 คู่สถานีเท่านั้น เมื่อสถานีใดต้องการส่งข้องมูลมันจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลางสวิทซ์ก่อน เพื่อบอกให้ศูนย์กลาง สวิตซ์มันสลับตำแหน่งของคู่สถานีไปยังสถานีที่ต้องการติดต่อด้วย ดังนั้นข้อมูลจึงไม่เกิดการชนกันเอง ทำให้การสื่อสารได้รวดเร็วเมื่อสถานีใดสถานีหนึ่งเสีย ทั้งระบบจึงยังคงใช้งานได้ ในการค้นหาข้อบกพร่องจุดเสียต่างๆ จึงหาได้ง่ายตามไปด้วย แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าต้องใช้งบประมาณสูงในการติดตั้งครั้งแรก   
ข้อดี
1.ติดตั้งและดูแลง่าย
2. แม้ว่าสายที่เชื่อมต่อไปยังบางโหลดจะขาด โหลดที่เหลืออยู่ก็ยังจะสามารถทำงานได้ ทำให้ระบบเน็ตเวิร์กยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติ
3.การมี Central node อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมระบบ ถ้าระบบเกิดทำงานบกพร่องเสียหาย ทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าจะไปแก้ปัญหาที่ใด
ข้อเสีย
1.เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น central node และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในสถานีงาน
2.การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้งจะต้องเกี่ยวเนื่องกับโหลดอื่นๆ ทั้งระบบ
3. เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง แบบวงแหวน (Ring Network)

ดังนั้นบริษัทของผมจึงใช้ระบบนี้เพราะการใช้งานได้ดีและเหมาะสม
 
       4.  อินเทอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาในประเทศไทยอย่างไร
            ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นว่าการศึกษาในแบบปัจจุบัน มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ จึงจำเป็นที่จะนำเทคโนโลยีมาช่วย เช่น อัดวีดีโอเทปการบรรยายของอาจารย์ชื่อดังแล้วเปิดให้นิสิตนักศึกษาดูผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือจัดการสอนผ่าน online conference ข้อดีของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ได้อยู่ที่ ว่าทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่เป็นเพราะว่าจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าเพราะ สามารถเข้าถึงผู้รับสารได้จำนวนมากกว่า ปัญหาเรื่องการขาดเงินสนับสนุนจากรัฐและแหล่งทุนเอกชน ก็จะ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มหาวิทยาลัยต้องมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ถ้าเช่นนั้นแล้ว อนาคตการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยจะเปลี่ยนไปเป็นแบบ distance learning เป็นหลักหรือไม่ ในความจริงแล้ว ในปัจจุบัน ประเทศไทยเองก็มีมหาวิทยาลัยเปิดที่สอนแบบ distance learning อยู่ เช่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช แต่การที่มหาวิทยาลัยปิดอื่นๆก็ยังคงบทบาทสำคัญอยู่ได้นั้นเป็นเพราะสังคมให้คุณค่ากับการเข้า มาศึกษาจนได้ปริญญาจากมหาวิทยาลัยปิดเหล่านี้ จริงอยู่ที่ว่าอินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้าน flow of information แต่ในความเป็นจริง นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้เข้ามาเรียนโดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อ แสวงหาความรู้แต่เข้ามาเพราะมหาวิทยาลัยปิดเป็นช่องทางสำหรับการมีใบปริญญาที่สังคมภายนอกให้การ ยอมรับมากกว่ามหาวิทยาลัยเปิด บทบาทของมหาวิทยาลัยปิดในประเทศไทยจึงยังไม่สั่นคลอนจากเหตุผลของ การเปลี่ยนแปลง flow of information นี้จนกว่าแนวโน้มค่านิยมด้านการศึกษาของสังคมจะเปลี่ยนไป เช่น เมื่อ สังคมเริ่มให้การยอมรับว่าผู้ที่ได้ certificate จากบริษัทหรือหน่วยงานบางแห่งที่ไม่ใช่มหาวิทยาลัยว่ามีคุณภาพ เทียบได้กับผู้ที่ผ่านเข้ามหาวิทยาลัยปิด ความจริง certificate ที่ได้จากการอบรมของบางบริษัทโดยเฉพาะที่ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเฉพาะด้าน เช่น บริษัท Microsoft ก็เริ่มเป็นที่ยอมรับของตลาด แต่ก็ยังจำกัดในวง จำกัดจึงยังไม่ส่งผลต่อระบบมหาวิทยาลัย แต่ถึงกระนั้น การใช้อินเตอร์เน็ตในระบบการศึกษาเป็นปรากฏ การณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ถึงมหาวิทยาลัยปิดของไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากมหาวิทยาลัยที่สอนแบบ distance learning ภายในประเทศ แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะได้รับผลกระทบจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่เปิดสอนแบบ distance learning ทั้งนี้เพราะสังคมไทยให้การยอมรับผู้ที่ได้รับปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยต่าง ประเทศค่อนข้างมาก และมหาวิทยาลัยต่างประเทศเองก็แสวงหารายได้จากการศึกษามาก ดังเช่นที่ van der Wende (1997) ได้ชี้ว่ารายได้จากนักศึกษาต่างชาติเป็นรายได้สำคัญของมหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะออสเตรเลียที่ได้ตั้งเป้าหมายที่จะขยายส่วนแบ่งตลาด 3.3% ในปี 1994 เป็น 7.5% ในปี 2010 ดังนั้น จึงเป็นไปได้สูง ที่รูปแบบการศึกษา distance learning จะเข้ามาสู่ประเทศไทยโดย มหาวิทยาลัยจากต่างประเทศ และได้รับการยอมรับจากสังคมโดยเฉพาะในการศึกษาระดับปริญญาโทและเอก ซึ่งมหาวิทยาลัยปิดในประเทศไทยยังไม่มีรากฐานที่มั่นคงเหมือนในระดับปริญญาตรี ซึ่งสังเกตุได้จากค่านิยม ในการเลือกไปศึกษาต่อต่างประเทศระดับปริญญาโทเอกมากกว่าจะศึกษาต่อภายในประเทศ ถ้าปัจจัยด้าน เศรษฐกิจมีพร้อมในส่วนของมหาวิทยาลัยไทย ถึงแม้จะมีการนำสื่ออินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา แต่ยังไม่ เห็นแผนที่ชัดเจนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา มีลักษณะเป็นเหมือนการนำเข้าตามกระแสเทคโนโลยี และ ให้ต่างคนต่างใช้เองตามต้องการ และยังไม่มีการใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาโดยตรง เช่น ยังไม่พบว่ามีการจัด สอนหรือจัดเตรียมสื่อการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ตมากนัก การใช้งานส่วนมากเป็นไปเพื่อการติดต่อพูดคุย ส่วนตัวมากกว่าแบบอื่น ในแง่ความพร้อมอย่างเต็มที่ในการนำมาประยุกต์เพื่อการเรียนการสอน ยังเป็นที่น่า สงสัยว่ามีความพร้อมแค่ไหน เครือข่าย network ยังไม่มีประสิทธิภาพเป็นที่พอใจของผู้ใช้ ผู้ใช้มักประสบ ปัญหาเครื่องในมหาวิทยาลัยไม่พอใช้ หรือไม่สามารถติดต่อจากที่บ้านได้ หากมีรายวิชาต่างๆหันมาใช้สื่อ อินเตอร์เน็ตเพื่อการสอนมากขึ้น ก็คงต้องประสบกับปัญหาอย่างแน่นอน และในส่วนทัศนคติต่อการใช้สื่อ อินเตอร์เน็ต เชื่อว่าส่วนใหญ่ยังมองในแง่ดี คือมองในแง่ของประโยชน์ที่จะได้มากกว่า แต่ก็ยังติดกับค่านิยม เดิมของการเรียนการสอนคือยังมองการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเป็นส่วนประกอบของระบบการศึกษา ดังนั้นการปรับ เปลี่ยนระบบการศึกษาเป็นการเรียนการสอนผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตอย่างเต็มรูปแบบคงไม่เกิดหรือเริ่มต้นที่สถาบัน การศึกษาไทย แต่ดังที่กล่าวมาแล้ว สิ่งนี้หากจะเกิดขึ้น ก็คงเกิดจากการนำเข้าของสถาบันการศึกษาต่าง ประเทศ เพราะการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่มหาวิทยาลัยต่างประเทศจะใช้ขยายฐานลูกค้า ของตน

4. ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษา

อีกกลุ่มเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงจะไม่ส่งผลกระทบในทางลบขนาดนั้น แต่กลับมองว่าเป็นโอกาสอันดีที่
จะใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตเพื่อขยายขอบเขตของมหาวิทยาลัยสู่กลุ่มคนที่ใหญ่ขึ้นได้ van Vught (1997) เชื่อว่า information technology จะเข้ามาช่วยให้การเรียนการสอนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่จะไม่สามารถ เข้ามาแทนที่การมีโรงเรียนและมหาวิทยาลัยได้ โรงเรียนและมหาวิทยาลัยจะยังคงมีอยู่ในระบบการศึกษาแต่ก็ ยอมรับกันว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จากเดิมที่เป็นห้องเรียนมีผนังล้อมรอบก็จะเป็น school without wall และเปลี่ยนจากการเรียนการสอนแบบบรรยายในชั้นเรียนมาเป็นแนวการเรียนการสอนแบบกระตุ้นให้เรียน และค้นคว้าเป็นทีม (stimulate team-based learning) ประโยชน์ที่ชัดเจนที่สุดของอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษา คือการเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การค้นหาข่าวสาร ข้อมูลต่างๆเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน มี web site ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย แต่ละ web site ก็ให้ข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่างๆรูปแบบระบบห้องสมุดก็มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนเป็น digitallibrary ที่มีหนังสือในเรื่องต่างๆเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ให้อ่านและค้นคว้าได้ online การใช้ email ช่วยให้การติดต่อข่าวสาร ระหว่างนักวิชาการเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ไม่ล่าช้าเหมือนแต่ก่อน ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง นักวิชาการในสาขาเดียวกันทั่วโลกเป็นไปได้ การเรียนแบบ online ยังช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนได้ตามขีด ความสามารถของตนเอง ใครมีความสามารถมากก็เรียนได้เร็วกว่า นักเรียนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในห้อง ก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้นผ่านการใช้ email หรือ discussion group

วิโรจน์ อรุณมานะกุล  http://pioneer.chula.ac.th/~awirote/ling/internetedu.htm

อินเทอร์เน็ตกับการศึกษา

อินเทอร์เน็ตสามารถให้ผู้เรียนติดต่อสื่อสารกับผู้คนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว และ สามารถสืบค้นหรือเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศจากทั่วโลก จึงทำให้เกิดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตกับกิจกรรมตามหลักสูตรเดิมที่มีอยู่ ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในด้านการคิดอย่างมีระบบ (High - Order Thinking Skills) การคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical Thinking) การวิเคราะห์สืบค้น (Inquiry - Based Analytical Skill) การวิเคราะห์ข้อมูล การแก้ปัญหา และการคิดอย่างอิสระเป็นการสนับสนุนกระบวนการรหัสสาขาวิชาการ (Interdisciplinary) คือ ในการนำเครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงกับกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น นักการศึกษาสามารถที่จะบูรณาการการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เข้าด้วยกันกับอินเทอร์เน็ตเมื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการศึกษาก็จะทำให้เกิดประโยชน์และสร้างความเท่าเทียมกันในด้านการศึกษาให้มากยิ่งขึ้น

รูปแบบของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษา

รูปแบบของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษาสามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้การศึกษาค้นคว้า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่รวมเครือข่ายงานต่าง ๆ ไว้มากมายทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้ทั่วโลกการติดต่อสื่อสาร ผู้เรียนและผู้สอนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารได้ไม่ว่าจะเป็นการรับส่ง E-mail , Chat , Telnet , Usenet เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้สอนจะใช้อินเทอร์เน็ตในการนำเสนอบทเรียน สั่งงาน ตอบคำถามข้อสงสัยรับงาน ฯลฯ ส่วนผู้เรียนจะใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนรู้ ส่งงาน ทบทวนบทเรียนระหว่างผู้สอนแล้วยังสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อต่าง ๆ ได้อีกด้วยการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต การใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนการสอนนั้นสามารถทำได้ในรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web Based Instruction : WBI) ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์คุณลักษณะของอินเทอร์เน็ต โดยนำทรัพยากรที่มีอยู่ใน WWW มาเป็นสื่อกลางเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง เอกสารประกอบการเรียน บทเรียนสำเร็จรูป หรือแม้กระทั่งหลักสูตรวิชา เนื่องจาก Web เป็นบริการบนอินเทอร์เน็ตที่มีแหล่งข้อมูลอยู่มากมายและหลายรูปแบบ ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง การเคลื่อนไหวหรือเสียง โดยอาศัยคุณลักษณะของการเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) ทั้งในรูปแบบของ ข้อความหลายมิติ (Hypertext) หรือสื่อหลายมิติ (Hypermedia)เพื่อเชื่อม โยงแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน และเป็นการนำประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าข้อมูลในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการสนองตอบแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นหลัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น