ข้อความวิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซด์ของ soonthorn116

บทที่5 คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ระบบสารสนเทศ


อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไรจงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้ หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วย
สำหรับอาชญากรรมในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (เช่น อินเทอร์เน็ต)อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่ง คือ
อาชญากรรมไซเบอร์ (อังกฤษ:Cybercrime) อาชญากรที่ก่ออาชญากรรมประเภทนี้ มักถูกเรียกว่าแครกเกอร์
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ
1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับ
ความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
และในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี
ต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน
http://www.gotoknow.org/posts/372559
    อาชญากรคอมพิวเตอร์จะก่ออาชญากรรมหลายรูปแบบ ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกจัดออกเป็น 9 ประเภท (ตามข้อมูลคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์)

1.การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
2.อาชญากรนำเอาระบบการสื่อสารมาปกปิดความผิดของตนเอง
3.การละเมิดสิทธิ์ปลอมแปรงรูปแบบ เลียนแบบระบบซอฟต์แวร์โดยมิชอบ
4.ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
5.ใช้คอมพิวเตอร์ฟอกเงิน
6.อันธพาลทางคอมพิวเตอร์ที่เช้าไปก่อกวน ทำลายระบบสาธารณูปโภค เช่น ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไป ระบบการจราจร
7.หลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม
8.แทรกแซงข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้นมาเป็น)ระโยชน์ต่อตนโดยมิชอบ เช่น ลักรอบค้นหารหัสบัตรเครดิตคนอื่นมาใช้ ดักข้อมูลทางการค้าเพื่อเอาผลประโยชน์นั้นเป็นของตน
9.ใช้คอมพิวเตอร์แอบโอนเงินบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีตัวเอง
อธิบายความหมายของ
Hacker คืออะไร     Hacker คือ ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบคอมพิวเตอร์อย่างสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครือข่าย , ระบบปฏิบัติการ จนสามารถเข้าใจว่าระบบมีช่องโหว่ตรงไหน หรือสามารถไปค้นหาช่องโหว่ได้จากตรงไหนบ้าง เมื่อก่อนภาพลักษณ์ของ Hacker จะเป็นพวกชั่วร้าย ชอบขโมยข้อมูล หรือ ทำลายให้เสียหาย แต่เดี๋ยวนี้ คำว่า Hacker หมายถึง Security Professional ที่คอยใช้ความสามารถช่วยตรวจตราระบบ และแจ้งเจ้าของระบบว่ามีช่องโหว่ตรงไหนบ้าง อาจพูดง่ายๆว่าเป็น Hacker ที่มีจริยธรรมนั่นเอง ในต่างประเทศมีวิชาที่สอนถึงการเป็น Ethical Hacker หรือ แฮกเกอร์แบบมีจริยธรรม ซึ่งแฮกเกอร์แบบนี้เรียกอีกอย่างว่า White Hat Hacker ก็ได้ ส่วนพวกที่นิสัยไม่ดีเราจะเรียกว่าพวกนี้ว่า Cracker หรือ Black Hat Hacker ซึ่งก็คือ มีความสามารถเหมือน Hacker ทุกประการ เพียงแต่พฤติกรรมของ Cracker นั้นจะเป็นการกระทำที่ขาดจริยธรรรม เช่น ขโมยข้อมูลหรือเข้าไปทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานไม่ได้
วิธีการที่ Hacker และ Cracker ใช้เข้าไปก่อกวนในระบบ
Internet มีหลายวิธี แต่วิธีที่นิยมมากมี 3 วิธี ดังนี้
1.Password Sniffers เป็นโปรแกรมเล็กๆที่ซ่อนอยู่ในเครือข่าย และถูกสั่งให้บันทึกการ Log on และรหัสผ่าน (Password) แล้วนำไปเก็บในแฟ้มข้อมูลลับ
2. Spooling เป็นเทคนิคการเข้าสู่คอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะทางไกลโดยการปลอมแปลงที่อยู่อินเทอร์เน็ต (Internet Address) ของเครื่องที่เข้าได้ง่ายหรือเครื่องที่เป็นมิตร เพื่อค้นหาจุดที่ใช้ในระบบรักษาความปลอดภัยภายใน วิธีการคือ การได้มาถึงสถานภาพที่เป็นแก่นหรือราก (Root) ซึ่งเป็นการเข้าสู่ระบบขั้นสูงสำหรับผู้บริหารระบบ เมื่อได้รากแล้วจะสร้าง Sniffers หรือโปรแกรมอื่นที่เป็น Back Door ซึ่งเป็นทางกลับลับๆใส่ไว้ในเครื่อง
3. The Hole in the Web เป็นข้อบกพร่องใน World -Wide-Web(
WWW ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต เนื่องจากโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติการของ Website จะมีหลุมหรือช่องว่างที่ผู้บุกรุกสามารถทำทุกอย่างที่เจ้าของ Site สามารถทำได้
ข้อมูลอ้างอิง 
http://www.mindphp.com
Cracker  คืออะไร
คือ บุคคลที่บุกรุกหรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล ด้วยเจตนาร้าย cracker เมื่อบุกรุกเข้าสู่ระบบ จะทำลายข้อมูลที่สำคัญ ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออย่างน้อย ทำให้เกิดปัญหาในระบบคอมพิวเตอร์ของเป้าหมาย โดยกระทำของ cracker มีเจตนามุ่งร้ายเป็นสำคัญ คำจำกัดความเหล่านี้ถูกต้องและอาจใช้โดยทั่วไปได้ อย่างไรก็ตามยังมีบททดสอบอื่นอีก เป็นบททดสอบทางกฎหมาย โดยการใช้เหตุผลทางกฎหมายเข้ามาใช้ในสมการ คุณสามารถแยกความแตกต่างระหว่าง hacker และ cracker บททดสอบนี้ไม่ต้องการความรู้ทางกฎหมายเพิ่มเติมแต่อย่างใด มันถูกนำมาใช้ง่าย ๆ โดยการสืบสวนเช่นเดียวกับ "men rea"
สแปม คืออะไร
สแปม คือชื่อเรียกของการส่งข้อความที่ผู้รับไม่ได้ร้องขอ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนมากจะทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้รับข้อความ สแปมที่พบเห็นได้บ่อยได้แก่ การส่งสแปมผ่านทางอีเมล์ ในการโฆษณาชวนเชื่อ หรือโฆษณาขายของ โดยการส่ง อีเมล์ประเภทหนึ่งที่เราไม่ต้องการ ซึ่งจะมาจากทั่วโลก โดยที่เราไม่รู้เลยว่า ผู้ที่ส่งมาให้นั้นเป็นใคร จุดประสงค์คือ ผู้ส่งส่วนใหญ่ต้องการที่จะโฆษณา สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ของบริษัทของตนเอง ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของ เมล์ ขยะซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้รับรำคาญใจและเสียเวลาในการกำจัดข้อความเหล่านี้แล้ว สแปมยังทำให้ประสิทธิภาพการขนส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตลดลงด้วย สแปมในรูปแบบอื่นนอกจาก อีเมล์สแปม ได้แก่ เมสเซนเจอร์สแปม นิวส์กรุ๊ปสแปม บล็อกสแปม และSMSสแปม
    สแปม (อังกฤษ: spam) คือชื่อเรียกของการส่งข้อความที่ผู้รับไม่ได้ร้องขอ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนมากจะทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้รับข้อความ สแปมที่พบเห็นได้บ่อยได้แก่ การส่งสแปมผ่านทางอีเมล ในการโฆษณาชวนเชื่อ หรือโฆษณาขายของ โดยการส่ง อีเมลประเภทหนึ่งที่เราไม่ต้องการ ซึ่งจะมาจากทั่วโลก โดยที่เราไม่รู้เลยว่า ผู้ที่ส่งมาให้นั้นเป็นใคร จุดประสงค์คือ ผู้ส่งส่วนใหญ่ต้องการที่จะโฆษณา สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ของบริษัทของตนเอง ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของเมลขยะซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้รับรำคาญใจและเสียเวลาในการกำจัดข้อความเหล่านี้แล้ว สแปมยังทำให้ประสิทธิภาพการขนส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตลดลงด้วย สแปมในรูปแบบอื่นนอกจาก อีเมลสแปม ได้แก่ เมสเซนเจอร์สแปม นิวส์กรุ๊ปสแปม บล็อกสแปม และเอสเอ็มเอสสแปม
การส่งสแปมเริ่มแพร่หลายเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าใช้จ่ายน้อยมากเมื่อเทียบการการส่งข้อความชักชวนทางอื่น เช่นทางจดหมาย หรือการโฆษณาทางสื่อต่างๆ ทำให้ผู้ส่งประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความเชิญชวน 
ม้าโทรจัน คืออะไร
โทรจัน (Trojan) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอย โทรจันจะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง บางคนที่เวลาเล่นอินเทอร์เน็ทจะได้เจอกับอาการที่เครื่องมีอาการแปลก อย่างเช่น อยู่ดีๆ ไดรฟ์ CD-Rom ก็เปิดปิดชักเข้าชักออก ไม่ก็อยู่ดีๆเครื่องก็มีเสียงเพลงอะไรไม่รู้ นึกว่าผีหลอกสะอีก แต่ที่จริงไม่ใช่ หากแต่ตอนนี้เครื่องได้มีผู้บุกรุกเข้ามาในเครื่องและได้เข้ามาควบคุมเครื่องคุณแล้ว ความสามารถของเจ้าม้าไม้โทรจันนี้ไม่ได้มีแค่นี้ แต่สามารถทำให้เครื่องพังได้ทีเดียว ความสามารถของโทรจันมีเยอะมาก ซึ่งถ้าเข้าใจแบบง่ายๆ ก็คือ ผู้บุกรุกสามารถทำอะไรกับเครื่องขอคุณก็ได้ เหมือนกับเขาได้มานั่งอยู่หน้าเครื่องคุณอย่างนั้นเลย
Virus และ Trojan เหมือนกันอย่างไร
1. เป็นไฟล์ที่ไม่ประสงค์ดีต่อเครื่องของเรา
2. เครื่องเราจะติดเชื้อเมื่อไปเปิดโปรแกรมที่มีไฟล์ Virus หรือ Trojan ที่เกิดจากการโหลดจากอินเตอร์เน็ต หรือเปิดจากแผ่น CD หรือ DVD ต่างๆ
Virus และ Trojan ต่างกันอย่างไร
1. Virusเป็นเพียงไฟล์ที่จะเข้ามาสร้างความปั่นป่วนให้กับเครื่องหรือระบบของเราเท่า นั้น เช่นการลบไฟล์บางตัวใน system หรือการ copy ตัวเองเพื่อให้ harddiskเต็ม
2. Trojan เป็นโปรแกรมขนาดเล็กที่จะเข้ามาฝังตัวในเครื่องของเรา และจะเกิดประโยชน์ต่อเจ้าของ Trojan ที่ส่งมาให้เรา ประโยชน์ของเขานั้นก็เช่น อาจจะเป็นโปรแกรม keylock หรือที่มันจะ lock IDหรือ password ของโปรแกรมบางตัวที่เขากำหนดไว้ เช่น ragnarok ไม่ว่าคุณจะเขาไปเปลี่ยน pass สัก 100 ครั้ง 1000 ครั้ง ถ้าโปรแกรม Trojanตัวนั้นยังอยู่ในเครื่อง เมื่อท่านเปิด ro และใส่ id และ pass โปรแกรม Trojan จะเริ่ม lock id และ pass ทั้งที และเมื่อท่านต่อเนต เจ้าของtrojan จะเข้ามา hack เครื่องเอา id และ pass ไปได้สบาย ๆ และนั้นคือจุดจบของคุณ
การป้องกันไม่ให้เครื่องโดนเจ้าโทรจันบุกรุก
การติด Trojan จะคล้ายกับ Virus แต่ไม่ง่ายเท่า เพราะว่าโปรแกรม Trojan มีขนาดที่ใหญ่กว่าไวรัสมาก การป้องกันทำดังนี้
1. ไม่รับไฟล์ใดทาง Internet จากคนแปลกหน้าไม่ว่าทาง E-Mail ICQ และโปรแกรม IRC ต่างๆ
2. ตรวจสอบไฟล์ที่รับทาง Internet ทุกครั้งด้วยโปรแกรมตรวจจับTrojan รวมทั้งที่ Download มาด้วย
3. ไม่เข้าเว็บไซต์ที่ไม่น่าไว้วางใจ
4. เวลาที่คุยกับคนอื่นทาง Internet (สำหรับนัก Chat) อย่าไปก่อกวนคนอื่นหรือสร้างความหมั่นไส้ให้เขาเพราะอาจเจอเข้ายิง Nukeเข้าใส่เครื่องของคุณ Trojan มีหลายตัวมากเหมือนไวรัส ที่ตัวใหม่ๆ ออกมาบ่อย แต่เท่าที่พบบ่อยมากที่สุดมีอยู่ 3 ตัว คือ BO Net Bus และ Girl Frifnd โดยที่ส่วนใหญ่ใช้ 2 ตัวแรกในการขโมย Passwordกับเข้าควบคุมเครื่องเป้าหมาย แต่ตัวสุดท้ายนี่ชื่อก็บอกอยู่แล้ว Girl Friend ไว้สำหรับแอบดูว่า เพื่อนสาวหรือเพื่อนชายแอบ(แฟน)แอบเจ้าชู้ไหมทำอย่างไรจึงรู้ว่ามีผู้บุกรุก การที่จะรู้ว่ามีผู้บุกรุกแล้วอันนี้ตรวจสอบค่อยข้างยากเพราะไม่ค่อยออกอาการเหมือนไวรัส ถ้าผู้ที่แอบเข้ามาในเครื่องไม่แสดงตัวก็จะไม่รู้ได้เลยว่ามีผู้บุกรุกเข้ามาในเครื่องเราแล้ว นอกจากใช้โปรแกรมตรวจจับหา Download ได้ทาง Internet วิธีที่พอจะทำให้รู้ว่ามีเครื่องมีเจ้า Trojan แล้วทำได้ดังนี้
1. หมั่นใช้โปรแกรมตรวจจับโทรจัน บ่อยๆ และหมั่น Upgrade โปรแกรมตรวจจับโทรจัน
2. คอยสังเกตดูอาการต่างๆ ที่ผิดปกติของเครื่อง
3. ทุกครั้งที่เล่นอินเทอร์เน็ท ต้องบันทึกวันเวลาและจำนวนชั่วโมงที่ใช้เสมอ และตรวจสอบกับทาง ISP ว่าตรงกันหรือไม่
4. ทุกครั้งที่ Log in เข้าระบบไม่ได้ทั้งที่ชั่วโมงอินเทอร์เน็ทยังไม่หมด ให้สันนิษฐานว่าโดนขโมย Username กับ Pass word ให้ตรวจสอบกับทาง ISP
                                                                     สปายแวร์  คืออะไร
Spyware คือ โปรแกรมที่แฝงเข้ามาในคอมพิวเตอร์ขณะที่คุณท่องอินเตอร์เน็ต ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ และจะทำการเก็บพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเรา รวมถึงข้อมูลส่วนตัวหลาย ๆ อย่างได้แก่ ชื่อ - นามสกุล , ที่อยู่ ,
E-Mail --mlinkarticle--} Address และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงสิ่งสำคัญต่าง ๆ เช่น Password หรือ หมายเลข บัตรเครดิตของเราด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการสำรวจโปรแกรม และไฟล์ต่าง ๆ ในเครื่องเราด้วย และ Spyware นี้จะทำการส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่โปรแกรมได้ระบุเอาไว้ ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ในเครื่องของคุณอาจไม่เป็นความลับอีกต่อไป spyware อาจเข้ามาเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย  วิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้ถูกโจมตีจากสปายแวร์
1.ติดตั้งโปรแกรม Anti-Spyware ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ Anti-Spyware ตรวจหา Spyware ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เเละเตือนให้เราทำการลบ
2.ไม่ดาว์นโหลดไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
3.ตรวจ สอบ Update โปรแกรม Antivirus เนื่องจากปัจจุบันมีการสร้าง โปรแกรมประเภท Virus หรือ สปายแวร์ออกมาเผยแพร่ภายในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลาทำให้บางครั้ง หากการ Update หรือปรับปรุง {--mlinkarticle=2011--}
antivirus program หรือ Anti-Spyware อย่างไม่สม่ำเสมอหรือนานๆครั้ง ก็อาจถูกโจมตีจาก Virus หรือ Spyware ได้เช่นกัน   สปายแวร์หมายถึงโปรแกรมที่แอบเข้ามาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่ผู้ใช้อาจไม่ได้เจตนาแล้วเป็นผลให้สปายแวร์กระทําสิ่งต่อไปนี้ เช่น
* อาจส่งหน้าต่างโฆษณาเล็กๆ ปรากฏขึ้นมา(ป๊อบอัพ) ขณะที่คุณใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่
* เมื่อคุณเปิดเว็บบราว์เซอร์เว็บบราว์เซอร์จะทําการต่อตรงไปยังเว็บไซต์หลักของตัวสปายแวร์ที่ถูกตั้งค่าให้ลิ้งก์ไป
* สปายแวร์อาจทําการติดตามเว็บไซต์ที่คุณเข้าไปเยี่ยมชมบ่อยๆ
* สปายแวร์บางเวอร์ชั่นที่มีลักษณะรุกรานระบบจะทําการติดตามค้นหาคีย์หรือ รหัสผ่าน ที่คุณพิมพ์ลงไปเมื่อทําการ log in เข้าแอคเคาน์ต่างๆสปายแวร์สร้างปัญหาอะไรกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณบ้าง
เมื่อสปายแวร์ได้แอบเข้ามาติดตั้งอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณแล้วมันจะพยายามรันprocessพิเศษบางอย่างซึ่งจะเป็นผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณทํางานช้าลงหรืออาจทําการเข้าสู่เว็บไซต์ต่างๆได้ช้า หรืออาจเข้าสู่เว็บไซต์ที่ต้องการไม่ได้เลยนอกจากนี้ ยังส่งผลเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของข้อมูลส่วนบุคคล(privacy) ในประเด็นต่อไปนี้ด้วย
* คุณไม่สามารถทราบได้เลยว่าข้อมูลที่ถูกนําไปมีอะไรบ้าง
* คุณไม่อาจทราบได้เลยว่าใครเป็นผู้นําข้อมูลเหล่านั้นของคุณไป
* และคุณก็จะไม่ทราบเช่นกันว่า ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนําไปใช้อย่างไรบ้าง
* ฟังก์ชั่นบนคีย์บอร์ดบางอย่างที่เคยใช้งานจะเกิดอาการผิดปกติ เช่น เคยกดปุ่ม tab เพื่อเลื่อนไปยัง
ช่องกรอกข้อความในฟิลด์ถัดไปบนหน้าเว็บจะไม่สามารถใช้ในการเลื่อนตําแหน่งได้เหมือนเดิมเป็นต้น
* ข้อความแสดงความผิดพลาดของซอฟต์แวร์วินส์โดว์จะเริ่มปรากฏบ่อยมากขึ้น
* เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณจะทํางานช้าลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อสั่งเปิดโปรแกรมหลายโปรแกรมหรือทํางานหลายอย่าง โดยเฉพาะในระหว่างการบันทึกแฟ้มข้อมูล เป็นต้น...."

ข้อมูลอ้างอิง
www.mindphp.com

จงอธิบายตัวอย่างกฎหมาย ICT หรือ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้างอธิบายถึงการกระทำผิดและบทลงโทษมา5อย่าง
พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.. ๒๕๕๐
ภูมิพลอดุลยเดช ป..
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.. ๒๕๕๐เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ พ.. ๒๕๕๐
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ ระบบคอมพิวเตอร์หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติข้อมูลคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ผู้ให้บริการหมายความว่า
() ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
() ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นผู้ใช้บริการหมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตามพนักงานเจ้าหน้าที่หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ รัฐมนตรีหมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
 กระทำความผิดและการลงโท
1 พฤติกรรม: ใช้ user name/password ของผู้อื่น Log in เข้าสู่ระบบ
ฐานความผิด: มาตรา 5 ปรับไม่เกิน 10,000.- จำคุกไม่เกิน 6 เดือน
2 พฤติกรรม: Forward email ที่มีข้อความ เนื้อหา หรือรูปภาพที่ไม่เหมาะสม เป็นเท็จ กระทบความมั่นคง หรือลามกก่อนาจารฐานความผิด: มาตรา 14 ปรับไม่เกิน 100,000.- จำคุกไม่เกิน 5 ปี
3 พฤติกรรม: โพสข้อความตามกระทู้ต่างๆ ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม เป็นเท็จ กระทบความมั่นคง หรือลามกอนาจารฐานความผิด: มาตรา 14 ปรับไม่เกิน 100,000.- จำคุกไม่เกิน 5 ปี
4 พฤติกรรม: เผยแพร่ภาพตัดต่อให้ผู้อื่นได้รับความเสื่อมเสีย หรืออับอาย
ฐานความผิด: มาตรา 16 ปรับไม่เกิน 60,000.- จำคุกไม่เกิน 3 ปี

 
การก่อกวนหรือลักขโมยข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ เป็นการกระทำที่กฎหมายอาญาใช้กันอยู่ ไม่สามารถเอาผิดได้ เนื่องจากเป็นความผิดที่ทันสมัย ไม่สามารถปรับข้อกฎหมายเอาผิดได้ จึงได้มีกฎหมายเฉพาะเพื่อเอาผิดกับบรรดาแฮกเกอร์ จอมก่อกวนทั้งหลาย ชื่อ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550  กฎหมายดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันประกาศ พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์นี้ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคมนี้ เป็นต้นไป  ใครที่คิดจะทำความผิด ให้รีบเสียก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ เมื่อกฎหมายใช้บังคับแล้ว ขอให้หยุดก่อกวนชาวบ้าน จะได้ไม่ต้องย้ายภูมิเนาไปอยู่ในคุก กฎหมายฉบับนี้มีทั้งหมด 30 มาตรา บัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างครอบคลุม จึงทำให้ต้องใช้ภาษาทางกฎหมาย เพื่อให้มีความหมายเผื่อไว้สำหรับวิธีการใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง อัตราโทษสำหรับลงโทษผู้กระทำผิด มีตั้งแต่ปรับอย่าเดียว จนสูงสุดจำคุกถึง 20 ปี ซึ่งพอสรุปเป็นภาษาให้อ่านเข้าใจง่ายๆดังนี้
ความผิดสำหรับนักเจาะ
1.พวกที่ชอบเจาะระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ที่เขาอุตส่าห์สร้างระบบป้องกันไว้แต่ถ้าเข้าเว็บสาธารณะ ก็ย่อมไม่มีความผิด โทษสำหรับพวกชอบเจาะ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
2.แต่ถ้าเจาะเข้าไปถึงข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ด้วย โทษจะเพิ่มเป็น 2 เท่า
3.คนที่เผยรหัส (Password) ที่ตัวเองรู้มา สำหรับเพื่อใช้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท  ความผิดสำหรับนักล้วงพวกที่ชอบดักข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ซึ่งส่งถึงกันทางอินเตอร์เน็ต ทาง
e-mail มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท
ความผิดสำหรับพวกปล่อยไวรัส
1.พวกทำลายข้อมูล หรือไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลของคนอื่น ไม่ว่าด้วยวิธีใด จะใช้ไวรัส หรือแอบเข้าไปทำลายตรงๆ หรือพวกพนักงานที่ทำงานอยู่แล้วกำลังจะออกไปทำลายข้อมูลเข้ามีโทษจำคุกไม่เกิน 5ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
2.ถ้าทำลายระบบคอมพิวเตอร์ จะมีข้อมูลหรือไม่ก็ตาม มีโทษเท่ากันเมื่อมีกฎหมายฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ น่าจะช่วยให้การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ลดลงได้บ้าง แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้อินเตอร์เน็ตโดยสุจริต คงไม่ต้องกังวล คงไม่ต้องกังวล ถ้าไม่คิดจะไปกลั่นแกล้งใคร
3.ถ้าการทำลายข้อมูลคนอื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ประเภทคอมพิวเตอร์ควบคุมจราจร โทษสูงขึ้นเป็น จำคุก 10 ปี ปรับ 200,000 บาท
4.และถ้ากระทบถึงความมั่นคงของประเทศ โทษจะสูงขึ้นเป็นจำคุก 3-15 ปี
5.แต่ถ้าจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย โทษจะหนักถึงจำคุก 10-20 ปี
ความผิดของพวกชอบก่อกวนหรือชอบแกล้งคนอื่น
1.พวกที่ชอบส่งmailก่อกวนหรือโฆษณาขายสินค้าหรือขายบริการ ประเภทไปโพลต์ ป๊อปอัพ หรือพวกส่งmailขยะโดยที่เขาไม่ต้องการ มีโทษปรับอย่างเดียวไม่เกิน 1000,000 บาท โทษฐานก่อความรำคาญ
2.พวกที่ชอบส่งmail เป็นข้อมูลปลอมข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีคนอื่น หรือพวกเจ้ากรมข่าวลือที่ชอบปล่อยข่าวให้เกิดความวุ่นวาย รวมถึงส่งภาพลามกอนาจารทั้งหลาย รวมถึงพวกผสมโรงที่ได้รับแล้วส่งต่อด้วย มีโทษเสมอกันคือ จำคุกไม่เกิน 5 ปีปรับไม่เกิน 100,000 บาท
3.พวกที่ชอบใช้ศิลปะเฉพาะตัว ตัดต่อภาพของคนอื่น แล้วนำเข้าเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต ทำให้เจ้าของภาพเข้าเสียหาย อับอาย ต้องโทษาจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 600, 000 บาท แต่กฎหมายยกเว้นสำหรับผู้ที่ทำด้วยความสุจริต จะไม่เป็นความผิด ซึ่งผมยังนึกไม่ออกครับว่า ถ้าตัดต่อภาพเข้าแล้ว จะสุจริตได้อย่างไร คงเป็นกรณีตัดต่อให้ดูสวยกว่าตัวจริง ซึ่งก็รู้จะทำไปทำไม

www.most.go.th/main/index.php/component/.../44.../900--2550.html

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น